TAWEELAP ROCK 70'

Custom Search

TAWEELAP ROCK RADIO

สวัดดีชาวร็อคทุกท่านครับ

หลังจากบอร์ดพังเป็นครั้งที่เท่าไหร่จำไม่ได้เหมือนกัน ผมกลับมาทำอีกครั้งเพราะใจรักจริงๆจุดประสงค์ที่ทำเว็บนี้ขึ้นมาไม่ได้มีผลประโยชน์อะไรแอบแฝง เพียงเพื่ออยากแลกเปลี่ยนเพลงกันระหว่างสมาชิกเท่านั้นและอยากแบ่งปันประสบการณ์เพลงในยุคเก่าๆเพื่อไม่ให้เพลงเหล่านี้สูญหายไปจากความทรงจำ บางอัลบั้มก็หาซื้อไม่ได้แล้วและบางอันก็ไม่มีจำหน่ายหรือบางทีราคาก็แพงจนรับไม่ได้ เพลงเหล่านี้มีคุณค่าในตัวมันเองมากมายครับ
ในยุค 60 - 70 วงดนตรีมีมากมายนับไม่ถ้วนแต่ละวงมีเอกลักษ์ของตัวเองชัดเจนมาก เล่นมาจากอารมณ์ข้างในมันสะท้อนอะไรได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตหรือไปจนถึงเรืองยาเสพติด
วงดนตรีสมัยนั้นเกือบ 100% พึ่งยาเสพติดในการแต่งเพลงถึงมันจะเป็นด้านลบแต่ด้านบวกมันได้สร้างสรรญผลงานอันทรงคุณค่าและเป็นเป็นอมตะจนถึงปัจจุบันนี้ครับ
ส่วนของหน้าเว็บผมจะโพสเฉพาะบิทเรท 128-256 เท่านั้น ส่วนแบบ 320 KB จะมีในส่วนของเว็บบอร์ด 320 KB ซึ่งท่านต้องสมัครสมาชิกก่อนถึงจะเข้าห้องได้นะครับ ผมหวังว่าที่แห่งนี้จะอยู่เป็นเพื่อนท่านอีกแห่งนึงนะครับ taweelap ..................... Rock Never Die

History of Rock...!!!

นับตั้งแต่ Bill Haley & His Comets ออกซิงเกิลที่มีชื่อว่า Rock around the clock ในปี 1954 นั้น บทเพลงแนวใหม่ก็ถือกำเนิดขึ้นมาในวินาทีนั้นเอง กระแสของดนตรีแนวใหม่เปรียบเสมือนระเบิดลูกใหญ่ที่ทำลายวัฒนธรรมของ Jazz, Blues รวมไปถึงงานดนตรีที่บรรดาพ่อแม่ของเด็กหนุ่มสาวในยุค 50 จนพินาศสิ้น หลังจากนั้นไม่นานก็มีบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งน่าจะถือว่าเป็นผู้ฝังรากของดนตรีแนวใหม่ให้ก่อเกิดขึ้น นั่นก็คือ Alan Freed "Father of Rock 'n Roll" ชายคนนี้คือใคร...? ชายคนนี้คือผู้ให้กำเนิดคำว่า Rock 'n Roll นั่นเอง และชายคนนี้ก็เป็นดีเจที่เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของดนตรี Mainstream ในยุค 50 จนหมดสิ้น คือรายการวิทยุในยุคนั้นไม่มีการนำเพลงของคนดำมาออกอากาศ แต่ Alan ก็นำบทเพลงของคนดำซึ่งกำลังได้รับความนิยมมาออกอากาศสู้กับ Frank Sinatra ของพวกรุ่นใหญ่ได้อย่างเมามันส์... Little Richard, Jerry Lee Luis, Chuck Berry นั่นเอง หลังจากนั้นไม่นาน ชายหนุ่มจากเมมฟิสอีกคนก็ทำให้ดนตรี Rock 'n Roll ขึ้นสูงจนถึงจุดสุดยอด ชายหนุ่มคนนี้มีลีลาที่ไม่เหมือนใคร บทเพลงที่ไพเราะและรูปร่างหน้าตาสุดหล่อ จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก "The King" Elvis Presley นั่นเอง (อย่าด่า Elvis ต่อหน้าพ่อแม่ตัวเอง เพราะอาจโดนตบได้) หลังจากที่ Elvis โด่งดังจนถึงขีดสุด ซิงเกิลฮิตอันมากมายมหาศาลเพียงไรก็ตาม มันก็ถึงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง... ... ในต้นยุค 60 ก็มีวงดนตรีอีกวงหนึ่งที่มีความนิยมไม่แพ้ Elvis เลยนั่นก็คือเด็กหนุ่มจากเมือง Liverpool ใครวะ...? บางคนอาจจะถาม เด็กหนุ่มหน้าตาดีกลุ่มนี้ก็คือ The Beatles นั่นเอง The Beatles ได้สร้างปรากฏการณ์ทางดนตรี Rock อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน บทเพลงหลากหลายของ The Beatles นั้นขึ้นอันดับหนึ่งอย่างรวดเร็ว และเป็ศิลปินที่มีซิงเกิลขึ้นอันดับหนึ่งมากที่สุดในโลก ความนิยมของ The Beatles ในตอนต้นยุค 60 นั้นก็ทำให้มีวงดนตรีอีกวงหนึ่งที่ถือว่าเป็นด้านมืดของ The Beatles ก็ว่าได้ ภาพของ The Beatles คือดนตรีแห่งสวรรค์ แต่บทเพลงของวงดนตรีอีกวงนั้นก็เป็นด้านนรกไปเลย ภาพลักษณ์อันตรงกันข้ามกับ The Beatles นั้นก็สร้างชื่อเสียงให้กับพวกเค้ามาจนถึงปัจจุบัน The Rolling Stones นั่นเอง... ในช่วงยุค 60 นั้นวงดนตรีจากฝั่งอังกฤษเข้าบุกถล่มแผ่นดินอเมริกาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็เป็นสูตรสำเร็จของดนตรี ถ้าจะพิสูจน์ตัวเอง ต้องไปดังที่อเมริกาให้ได้ กาลเวลาก็เดินไปเรื่อยๆ จนถึงยุคสงครามเวียดนามระเบิดขึ้น การเรียกร้องสันติภาพ เสรีภาพระบาดรุนแรงไปทั่ว... วงการดนตรีค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ดังบทเพลง The time they are a changin' ของ Bob Dylan ในช่วงปลายๆ ยุค 60 ก็มีการเล่นดนตรีผสมกับยาเสพติดขึ้น... Psychedelic คือคำเรียกของดนตรีแนวนี้... (ซึ่งก็จะรวมไปถึง Progressive, Acid และแนวดนตรีที่มีกลิ่นอายใกล้เคียงกัน) แนวทางของดนตรีในช่วงปลายยุค 60 นั้นสร้างปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "ดนตรีลูกผสม" หรือดนตรีแนวทดลองขึ้นมาอย่างกว้างขวาง... หลากหลายบทเพลงมีการนำดนตรีมาผสมกับยาเสพติดกันอย่างรุนแรง... The Doors, The Grateful Dead, King Crimson ซึ่งก็รวมไปถึง Sgt. Pepper's Lonely Hearts Club Band ของ The Beatles ที่หันเหไปทางดนตรีแนว Psychedelic อย่างชัดเจน ซึ่งมันก็ทำให้ดนตรี Rock ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดกับชายผู้หนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นนักกีตาร์อันดับหนึ่งตลอดกาล... Jimi Hendrix & The Experience นั่นเอง เสียงที่ Jimi Hendrix สร้างขึ้นมาทำให้เค้ากลายเป็นเทพเจ้าในชั่วข้ามคืน หลายบทเพลงของ Hendrix สร้างแรงบรรดาลใจให้กับนักดนตรี Rock ในยุคต่อมาอย่างรุนแรง... ... เข้าสู่ยุค 1970 กันเสียที... หลังจากการเสียชีวิตอย่างกระทันหันของ Hendrix ไปนั้น ดนตรี Rock ก็ยังไม่ถึงกาลดับสูญ... Black Sabbath ได้นำเสียงแตกสั่นและหนักแน่นเข้ามากระแทกหูคนฟังบทพื้นพิภพนี้ เสียงที่ Black Sabbath สร้างออกมานั้นก็สร้างแรงบรรดาลใจให้กับนักดนตรี Rock สาย Thrash Metal, Death Metal และ Black Metal ในยุคหลังๆ ไม่มีใครปฏิเสธความยิ่งใหญ่ของ Black Sabbath ได้ (นอกจากเกรียน) ยังไม่พอ... Deep Purple ก็สร้างตำนานให้กับตัวเองด้วยเพลง Smoke on the water ที่เป็นท่อน Riff อมตะอีกบทเพลง รวมไปถึงการโซโลกีตาร์และคีย์บอร์ดอันรวดเร็วและเมามันส์ของพวกเค้าก็เป็นพื้นฐานให้ดนตรีในยุคหลังๆ ได้เป็นอย่างดี... นี่เราต้องพูดถึงวงดนตรีอีกวงหนึ่งที่ถือว่าขึ้นหิ้งอันไม่สามารถลบหลู่ได้อีกวง... Led Zeppelin นั่นเอง... บทเพลงที่ Zep สร้างขึ้นมานั้นรวมไปถึงเทคนิคกีตาร์ที่ Jimmy Page สร้างขึ้นมาก็เป็นแรงบรรดาลใจให้กับนักดนตรี Rock ในยุคหลังๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องคิดอะไร ฟังแค่ Stairway to heaven ที่ถือว่าเป็นบทเพลงชาวเมทัลทั้งหลายทั้งปวง... มันยังไม่จบหรอกนะ Michael Schenker ก็สร้างเสียงกีตาร์ของตัวเองออกมาบ้าง Rock Bottom นั้นเปรียบเสมือนระเบิดที่ทำให้วงการดนตรี Rock เปลี่ยนไป... ขอข้ามแนวจาก Hard Rock มายังอีกแนวเพลงนึงที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นั่นก็คือบทเพลงที่พัฒนามาจากแนว Psychedelic นั่นก็คือ Progressive Rock นั่นแหละ... ความซับซ้อนทางดนตรี รวมไปถึงความเป็นอัจฉริยะของนักดนตรีที่สร้างบทเพลงแห่งความล่องลอยและตำนานการติดบิลบอร์ดอันยาวนานของ Dark Side of The Moon โดยศิลปิน Pink Floyd นั้นยังหาใครมาทาบรัศมีได้เลย... ยังมีผู้ใดที่เคลือบแคลงความยิ่งใหญ่ของพวกเค้าอีกไหมถ้ารู้ว่าเค้าสามารถขายงานได้ 250 ล้านแผ่นทั่วโลกเนี่ย...? ดนตรีในยุค 70 ก็มีความหลายหลายและมนต์เสน่ห์เพียงไรถ้าเราได้ฟังงานสุดคลาสสิคของ The Eagles ที่นำเสียงของ Hard Rock เข้ามาผสมกับ Southern Rock กันอย่างลงตัวกับบทเพลง Hotel California ซึ่งก็รวมไปถึงมหากาพย์ของดนตรีอย่างเพลง Freebirds ของ Lynyrd Skynyrd...!!! ยังไม่จบ... ดนตรีที่เรียกกันว่าหัวก้าวหน้าในยุค 70 นั้นเราจะลืม "ราชันต์ในนามราชินี" Queen กับบทเพลง Bohemian Rhapsody ได้เหรอ...? ย้อนเวลาไปช่วงต้นๆ 70 กันอีกครั้งนะ Neil Young & The Crazy Horse, Iggy Pop & The Stooges, New York Dolls และ MC5 ก็สร้างบทเพลงแห่งความก้าวร้าวรุนแรงขึ้นมาบ้าง ซึ่งมันก็เหมือนระเบิดเวลาที่รอวันระเบิด... และมันก็ระเบิดออกมาในช่วงปลายๆ ยุค 70 กับวงดนตรี Sex Pistols (และอีกหลายๆ วง) นั่นก็คือแนวดนตรีที่เรียกว่า Punk นั่นเอง แนวดนตรี Punk นั้นสร้างความนิยมอย่างรุนแรงส่งผลกระทบต่อ Hard Rock อย่างมาก จนทำให้แนวดนตรี Hard Rock แทบจะสูญสลายไปเลย แต่มันก็ยังไม่ตายเสียทีเดียวหรอกนะ ดนตรีที่กำเนิดขึ้นมาในช่วงปลายๆ ยุค 70 นั่นก็คือ New Wave of British Heavy Metal นั่นเอง...!!! ... ช่วงรอยต่อของยุค 70 กับ 80 นั้นงานดนตรีมีการฑัฒนาไปอย่างรวดเร็ว วงดนตรีที่เรียกตัวเองว่าเป็น NWOBHM ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนทำให้ดนตรี Punk กลายพันธ์ไป (จะกล่าวถึงภายหลัง) หัวหอกของดนตรีแนว NWOBHM ก็มีเช่น Iron Maiden, Judas Priest, Motor Head, Diamond Head, Def Leppard และถ้าเราไม่นับชายคนนี้ก็ไม่ได้ Ozzy Osbourne ชายผู้ที่ยืนอยู่บนยอดสุดของพีรามิดแห่ง Metal นั่นเอง หลากหลายบทเพลงที่ Ozzy Osbourne Band สร้างขึ้นมาสร้างความสั่นสะเทือนให้กับดนตรี Rock เป็นอย่างสูง ซึ่งผนวกกับนักกีตาร์โนเนมแต่ฝีมือระดับเทพอย่าง Randy Rhodes ทำให้นักกีตาร์หลายคนในยุคต่อมาหันมาหลงไหลกับมนต์เสน่ห์ของเค้ากันอย่างถอนตัวไม่ขึ้น... เราข้ามไปที่ฝั่งอเมริกากันบ้างนะ... นักกีตาร์ระดับเทพอีกคนก็สร้างความสั่นสะเทือนวงการกับเทคนิกกีตาร์อันแพรวพราว รวมไปถึงการเอนเตอร์เทนคนดู Van Halen นั่นเอง คงไม่จำเป็นที่จะต้องสาธยายความสุดยอดของพวกเขานะ... ดนตรีในต้นยุค 80 นั่นมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีแนวดนตรีเกิดใหม่มากมาย Metallica, Megadeth, Anthrax, Exodus คือพวกแรกๆ ที่นำความหนักหน่วงของ Black Sabbath มาผสมความมันส์สะเด่าของดนตรี Punk และกลิ่นอายอันฉุนกึ้กของ NWOBHM กันจนเกิดแนวดนตรีที่เรียกว่า Thrash Metal นั่นเอง... หลังจากนั้นไม่นาน แนวดนตรี (หลัก) ก็ถือกำเนิดตามมาหลังจาก Thrash Metal นั่นก็คือ Death Metal และ Black Metal นั่นเอง แต่ความรุนแรงในยุค 80 ก็มีอีกแนวดนตรีอีกแนวที่มีความสนุกสนานและหญิงตรึมอย่าง Glam Metal หรือที่เรารู้จักกันดีกับ Hair Metal นั่นเอง Bon Jovi, Skid Row, Cinderella และอีกหลายร้อยวงที่สร้างแฟนเพลงให้กับตนเองอย่างมากมาย ซึ่งก็รวมไปถึง Guns N' Roses นั่นแหละ... ความนิยมของดนตรีแนว Heavy Metal นั้นสุดสะเด่าไปเลย จวบจนถึงช่วงปลายยุค 80 ที่มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่นิยมชมชอบความรุนแรง ความบ้าระห่ำของการเล่น รวมไปถึงเสียงอันแตกสนั่นที่มาจากความเรียบง่ายของ Neil Young (ไม่เชื่อก็ไปหาวิดิโอการแสงสดของ Neil Young มาดูแล้วจะรู้ว่าป๋า Neil นั้นเล่นกีตาร์ได้รุนแรงและทำร้ายกีตาร์ขนาดไหนเอาเองเด้อ) นั่นก็คือเหล่าบรรดาเด็กหนุ่มจาก Seattle นั่นเอง Nirvana คือวงดนตรีที่ได้รับคามนิยมอย่างรวดเร็วและรุนแรง การเล่นกีตาร์เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากเทคนิกอันแพรวพราวเหนือชั้นแบบ Steve Vai หายไป กลิ่นอายของดนตรีที่เรียกตัวเองว่า Seattle Sound หรือ Grunge หรืออะไรต่อมิอะไรมากมาย (มันจะสร้างแนวกันทำไมเยอะแยะวะ จำไม่ไหววุ้ย) ทำให้ดนตรีในยุคปลาย 80 นั้นเปลี่ยนไป... ... ดนตรีในยุค 90 นั้นถือว่าเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย งาน Ten ของ Pearl Jam, Nevermind ของ Nirvana, Use Your Illusion I และ II ของ Guns N' Roses, Metallica (Black Album) ของ Metallica คือตัวอย่างที่น่าจะชัดเจน ซึ่งในยุค 90 นี้เองวงดนตรีที่กำเนิดมานั้นต่างยอมรับว่าตนเองนั้นได้รับแรงบรรดาลใจมาจากรุ่นพี่ รุ่นพ่อในอดีตกันแทบทั้งนั้น มันเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า ถ้าไม่เชื่อก็ลองไปหางานของพวกเขามาฟังกันดีๆ จะได้กลิ่นอายของดนตรีในยุคก่อนหน้ากันทั้งนั้น บางวงอาจได้กลิ่นของหลายๆ วงเสียด้วยซ้ำไป... ฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจไปถ้าบางวงอาจจะนำเสียงใหม่ๆ เข้ามาสู่ตัวเองและไม่อายที่จะทำถ้ามันทำให้เสียงของตัวเองมีความหลากหลาย อย่างเช่นแนวดนตรี Power Metal, Grindcore, Hardcore, Melodic Metal, Brutal Death Metal, Doom Metal, ฯลฯ ปฏิเสธกันได้ไหมว่าดนตรีที่เกิดมาในยุคหลังๆ นี้ไม่มีการนำเสียงจากอดีตมาทำให้เข้ากับยุคสมัย...? ฉะนั้นแล้วการแบ่งแยกแนวดนตรีน่าจะเป็นเรื่องที่ทำได้ เพื่อการฟัง แต่การดูถูกแนวดนตรีที่เราไม่ได้ฟังนั้นเป็นเรื่องตลกมากกว่า ไม่มีดนตรีแนวไหนทำออกมาห่วยหรือดีเลิศประเสริฐศรี ของเหล่านี้แบ่งแยกได้อย่างเดียวคือชอบฟังกับไม่ชอบฟังแค่นั้นเอง ชอบก็ฟังไป ไม่ชอบก็ไม่ต้องฟัง ทำไมต้องดูถูกแนวดนตรีแนวอื่นด้วย ทั้งๆ ที่รากฐานของดนตรีในยุคปัจจุบันนี้ต่างก็มาจากจุดเดียวกันทั้งนั้น ฉะนั้นเราจงมาฟังดนตรีกันอย่างมีความสุขกันเถิด ใครจะฟังเพลงเพื่อสร้างภาพให้กับตัวเองก็ช่างหัวมันประไร...!!!

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Butterfly - Action

ศิลปิน: Butterfly
อัลบั้ม: Action
สังกัด: Grammy Entertainment
ปีที่ออก: 1986
สมาชิก: สุรสีห์ อิทธิกุล: ร้องนำ/ keyboard
กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา: Bass/ ร้องนำ
อัสนี โชติกุล: Guitar
อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ: Keyboard
กรเณศ วสีนนท์: Drums
ถ้าหากพูดถึง Butterfly เราก็คงนึกถึงกลุ่มคนดนตรี ผู้อยู่ทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง รวมไปถึงงาน ทางด้านดนตรีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น งาน Producer, เขียนเพลง, การบันทึกเสียงในสตูดิโอ, เพลงประกอบโฆษณา เพลงประกอบภาพยนตร์ ฯลฯ และยังมี Butterfly Studio และ โรงเรียนดนตรี ศศิลิยะ (School of rock ของเมืองไทย) ที่เป็นแหล่งให้โอกาส และสร้างฝีมือให้กับคนรุ่นใหม่ และมีฝีมือ ในวงการดนตรีบ้านเรา และพวกเขาได้ บัญญัติ ความหมายใน วงการเพลงไทยของคำที่เรียกว่า Production team ในการทำเพลงขึ้นมาในเมืองไทย (เชื่อหรือไม่! กลุ่ม production team กลุ่มแรกของเมืองไทย ที่ทำเป็นเรื่องเป็นราว คือกลุ่ม สุนทราภรณ์ ที่เขียนเพลง ไม่ว่าในกลุ่มสุนทราภรณ์ เอง หรือเพลงตาม events ต่างๆ รวมไปถึงเพลง ทางวิทยุ หรือ ละคร อีกด้วย)Butterfly ทำงานดนตรี hard rock ที่หนักแน่น และฉีกกระแส เพลงสตริง วัยรุ่น ในตอนนั้น อย่าง สวนกระแส อย่างรุนแรง ในตอนนั้น ไม่น่าแปลกใจ ที่บทเพลงของพวกเขาได้ผลตอบรับน้อย มาก ในตอนนั้น ไม่ว่าจะเป็นงานที่ พวกเขาทำ production team ใน เรวัต พุทธินันทน์ – คีตกวี: เรามาร้องเพลงกัน, อีสซึ่น: บทเพลงแต่บางงานของพวกเขากลายเป็นงานชิ้นเอก จนทุกวันนี้ เช่น : เพลงประกอบภาพยนตร์ ‘เงิน เงิน เงิน’ หรือแม้กระทั่ง เพลงประกอบภาพยนตร์ ‘วัยระเริง’ ของ เปี๊ยก โปสเตอร์ ที่พวกเขา tag team กับ เรวัต พุทธินันทน์ และ เนื้อร้อง จาก ประภาส ชลศรานนท์ และ นิติพงษ์ ห่อนาค ทำให้เกิด เพลง soundtrack แนว hard rock อัลบั้มแรก ของเมืองไทย อย่าง ‘ยุโรป ost. วัยระเริง’ ใครยังจำเพลงอย่าง ‘ชีวิตนี้ของใคร’, ‘ยุโรป’, ‘จังหวะ’, ‘ดนตรีในหัวใจ’ กลายเป็นเพลง soundtrack hard rock สุดอมตะ จากการเรียงร้อย ของ เรวัต, Butterfly, ประภาส-นิติพงษ์ และกลุ่ม อนาคต production team ของ แกรมมี่ ในอนาคตAction คืองานชุดที่ 3 ของ Butterfly ต่อจากชุด Butterfly II ที่มีเพลงพอไดใจจากเหล่าเด็กแนวในตอนนั้น อย่างเพลง ‘Plastique’ (ใช่ครับ! เพลงเดียวกันที่ Peter Corp Direndal และ 4 Gotten นำมาร้องใหม่นั้นแหละครับ)กับความเปลี่ยงแปลงเมื่อ ชุดนี้ ไม่มี อุกฤษฏ์ พลางกูร เป็นมือกีต้าร์ ในวงแล้ว แต่ก็ทดแทนด้วย อัสนี โชติกุล ที่พกพา เสียงกีต้าร์ อันเร้าร้อน ผ่านเสียงกีต้าร์ Les Paul คู่บุญ ของ อัสนี รวมไปถึงเสียง synthesizer สำเนียง oriental ของ อนุวัฒน์ และ keyboard ที่รุนแรง และ แพรวพราว ของ สุรสีห์ สร้างการโลดแล่น ของ เจ้าผีเสื้อ ผ่านโลกมนุษย์ และ หาก โลกคือละคร โรงใหญ่ ทุกคนย่อมแสดงไปตามกลไก และบทบาท หน้าที่ ที่ได้รับ เช้าขึ้นมาเมื่อใด มนุษย์ เหล่านั้น ก็เตรียมพร้อม คำสั่ง Action! จาก นาฬิกา ปลุกเมื่อตื่นนอน เพื่อไปทำหน้าที่ ที่แต่ละคนได้รับAction: track แรก ของอัลบั้ม ที่เปิดตัวด้วยเสียง synthesizer สำเนียง new age ทางตะวันออกที่งดงาม และอลังการ ความยาวกว่า สามนาที ของการบรรเลง synthesizer เพียวๆ บรรเลงถึงการกำเนิด ผีเสื้อ จากหนอน สู่ ดักแด้ และ ผีเสื้อ เมื่อมันโบยบิน ผ่านป่า เขา จึงเกิดเสียง keyboard ของ สุรสีห์ ตามเข้ามา ของผีเสื้อ เพื่อดูโลกใบกว้าง อย่างสงสัย และอยากรู้และเสียงกระแทกกีต้าร์ และ กลอง ของ อัสนี และ กรเณศ ที่เป็นการเข้าสู่ยามราตรี และ ผีเสื้อ ได้พบกับชายผู้หนึ่ง นั่งใต้ต้นไม้ เรื่องราวในคืนวันพระจันทร์ เต็มดวง การต่อสู้ ของชายผู้นั้น กับ มารผจญ ที่สร้าง ภาพมายา และสิ่งเย้าเย้า ทั้งมวล แต่ผลสุดท้าย ชายผู้นั้นก็เอาชนะ สิ่งเหล่านั้น ที่ไม่เที่ยงแท้ ด้วยดวงตาธรรม และ ความเข้าใจ ทำให้มาร นั้นพ่ายแพ้ด้วยตัวมันเอง ใช่ครับคุณรู้ใช่ไหมครับ ชายผู้นั้นในคราวนั้น ก็คนเดียวกันที่ได้ตรัสรู้ ในวันเพ็ญ เดือน 6 นั้นแหละครับ และ ได้รู้แจ้งความเป็นจริงของมนุษย์ ที่มีกันทุกคน คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ในวัฏฏะสงสารDream Chaser: เพลงแนว Heavy Metal ทางเกาะอังกฤษ ที่รุนแรง ด้วยเสียง synthesizer และเกรี้ยวกราด ของ Guitar เมื่อมนุษย์ ไลล่า ความต้องการนั้น ของตนเอง อย่างบ้าคลั่ง เพียงเพราะ ความสะใจ ส่วนตัวเสียงร้องของ สุรสีห์ ที่ บอกกล่าวตัวละคร ที่ชื่อ มนุษย์ และ ตัวละคร ที่ชื่อว่า Dream maker เพลงนี้พูดถึง คนเราในสังคม ที่ ไลล่า การงาน และเกียรติยศ เพื่อความต้องการของตนเอง จนลืมความเป็นตัวตน อย่างสิ้นเชิงเสียง ดนตรี ที่อลหม่าน วุ่นวาย และรุนแรง บ่งบอก อารมณ์ ความบ้าคลั่ง ของผู้คนในสังคมได้ดีNumb: อัสนี โชว์การโซโล่กีต้าร์ อย่างรวดเร็วและพลิ้วไหว โดยมีเสียง keyboard ของอนุวัฒน์ เป็นลูกรับ สร้างการเย้าแหย่ กันในทำนอง เสียงร้อง ของ สุรสีห์ ที่ทรงพลังเหมือน Ian Gillan นักร้องนำวง Deep Purple สร้าง บรรยากาศ บ้าคลั่ง และจิตหลอน ในเพลงนี้ได้อารมณ์ มนุษย์ เรา มีช่วงเวลาหนึ่ง ที่เราสร้างภาพหลอน จากจิตใจเรา โดยบางครั้ง เราอาจรู้สึก ได้ว่า เราหยุดหายใจ ไร้ชีวิต โดยไม่รู้ตัว และ น่ากลัว และการต่อกร ของมนุษย์ตัวเล็ก กับ ความตาย ที่ไม่รับอุธรณ์ ต่อมนุษย์ในเรื่องใดๆ เมื่อคราวมนุษย์ ถึง ฆาตHammer’s Song: ‘อาวุธ ไม่สามารถ ฆ่า มนุษย์ มีแต่ มนุษย์เท่านั้น ที่ถืออาวุธ ไปไล่ล่า ชีวิต ได้ มนุษย์ สามารถ สร้างสิ่งที่ตนอุปโลกน์ ขึ้นเพื่อสั่งให้มันเป็นไป ดั่งใจคิด เพราะสิ่งไร้ชีวิต เหล่านั้น มันมิได้ ไปมีความคิด ไปเอาจากใครได้’ – motto อันนี้ ที่กล่าวมา ได้ตอบโจทย์ ในเพลงนี้ เปรียบดังค้อน ที่ไร้ชีวิตจิตใจ แต่มันกลับกลายเป็นค้อนที่พิพากษา ชีวิตความเป็นไปได้ เมื่อ มันอยู่ในมือผู้พิพากษา ในศาล มนุษย์สร้างสิ่งต่างๆ ที่ไร้ชีวิต เพื่อ สั่งไปตามความต้องการ และวัตถุประสงค์ ของตนเอง เสียงกีต้าร์ ที่เศร้าสร้อย และ เสียงร้องอันเย็นเยือ ของ กฤษณ์ บอกความเป็นไป ได้ในเพลงนี้ดีPhosphorus: มนุษย์ เราจุดตัวเอง เพื่อให้ใครสัดคนมาสนใจ ในสิ่งที่ตนกระทำ โดยไม่สนว่าสิ่งที่ทำไป จะดี จะร้าย หรือ เผาตัวเอง ให้แหลกลาน แค่ไหน บทเพลง hard rock ที่สนุกสนาน โดยมีเสียง กลุ่ม chorus จากการเรียบเรียง ของ กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา สร้างสีสัน อันงดงามและ รุนแรง ในเพลงนี้ อย่างได้อารมณ์ และ จิกกัด โลกสังคมโลกาภิวัฒน์ ที่ไร้จิตใจ ได้ดี และเปรียเปรย ในเนื้อหา ของวัยคนอง ของวัยรุ่น ได้อย่างเข้าถึงอย่างในท่อน phosphorus is my name , gentle light is my game, well you can piss on my face you kick me out of this world, But I can always feel the same’I lost my smile: ดนตรี synth pop สำเนียงตามถนัด ของ กฤษณ์ ด้วยสำเนียง ดนตรี pop สนุกสนาน แบบวง New Order และ Pet Shop Boys แต่เนื้อหา พูดถึงว่า เรามักมีเรื่องให้ทำให้ยิ้มหุบได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็น โดนโกง เห็นคนทะเลาะกัน รถติด หรือแม้กระทั่ง อาชญากรรม ที่เราได้รับรู้ได้เห็น และได้ยิน เคยเป็นไหมครับ คุณ?Let it lives: ปล่อยให้มันเป็นไป ตามกระทำ และผลกรรม ที่ก่อขึ้น progressive rock ที่มีสำเนียง symphony ทางตะวันออก เสียงกีต้าร์ ที่บาดอารมณ์ เป็นเสียงของการคืบคลานของ เวรกรรม ที่มาทักทายมนุษย์ อย่างเย็นยะเยือก เนื้อร้องภาษาอังกฤษ ที่เขียนโดย เขตอรัญ เลิศพิพัฒน์ ที่ยังคมคายและยังมีปรัชญา ทางพระพุทธศาสนา อย่างแยบยล และฟังได้ทุกความเชื่อ แม้คุณมีอำนาจ ถึงขั้นจะหยุดแม่น้ำ ได้ แต่ คุณ ก็มิอาจหยุด แรงกรรม ที่ส่งมายังคุณได้ จากการะทำ และ อานิสงค์ ที่คุณก่อขึ้น ก็ต้องปล่อยให้มันเป็นไป ตามธรรมชาติ เสียง ดนตรี ที่หนักแน่น อลังการ และ การเรียบเรียง synthesizer ที่งดงาม และขณะเดียวกัน มันยัง น่ากลัวด้วยจุดเด่นของเพลงนี้อยู่ที่: เสียงกีต้าร์ อันคมกริบ และกดอารมณ์Red Rose Queen: ราชินี ดอกุหลาบ ผู้งดงาม ในขณะเดียวกัน อย่าง ซ่อน กุหลาบหนาม คมเอาไว้ ที่ลำตัว เปรียบเปรยดังผู้หญิงที่งดงาม แต่ใครจะรู้ บางที อาจใจร้ายถึงขั้น หัก อกได้ และกลืนกิน เราเข้าไป เปรียบเปรย ดอกกุหลาบ ในสวนมากมาย ที่เหล่าผีเสื้อ และแมลง โบยบิน โดยหาไม่ว่า บางชนิด ดอกนั้น ก็จับกิน แมลง หรือ ซ่อน เกสรพิษ เอาไว้เพลงนี้โชว์การเล่น Synthesizer ที่ พลิ้วไหว เสียง กีต้าร์ ที่กรีดกลายและคมกริบ ดั่งเมื่อ ราชินิ ดอกกุหลาบนำรำตัวของนาง ทิ่มแทง เหล่า แมลง และ มือ ของผู้ถือ เสียงกลอง ที่หวดกระหน่ำ ดั่งการหนี จาก ความสวยงามแฝงพิษ แบบนี้ เสียง chorus ของ สีฟ้า และ สีส้ม (chorus คู่บุญ ของกลุ่ม Butterfly และ อัสนี- วสันต์) สร้างพลังอันน่าหลงใหล และขณะเดียวกันยังแฝงพลังในตัว ทีเดียว เปรียบดัง Red rose queen ก่อนที่จบด้วยเสียง ฆ้องใหญ่ และการ บรรเลง symphony กระแทกไปมา จบมหากาพย์ ราชินีดอกกุหลาบ อันงดงาม และ มีพลังมหาสาร
ผลงานชุดนี้น่ายินดีอย่างหนึ่งคือ ผลตอบรับกระเตื้องดีขึ้น จากสองชุดที่แล้ว บ้าง อาจเป็นเพราะ การได้แสดงสด และ การออกทีวี และได้มาอยู่ค่ายเพลง ที่คุ้นเคย และมีสื่อทีวี อยู่ในมือตอนนั้น อย่างแกรมมี่ ทำให้มีคนกล่าวถึง ผลงานชุดนี้บ้าง ในหมู่คนฟัง เพลงไทยสมัยใหม่ หรือ ผู้พิศมัย เพลงฝรั่ง ก็ฟังเพลงชุดนี้ ได้อย่างไม่เขอะเขิน และในตอนนั้น Butterfly ได้แสดงสดในรายการ concert หยุดโลก ทางช่อง 9 น่าจะเป็นอีกประการหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึง และยกย่องในฝีมือ และนักดนตรี ระดับ super group วงนี้ของเมืองไทย จากวันนั้น หลายคนเช่นสุรสีห์ กับงานเดี่ยว ทั้ง 4 ชุด ที่ได้รับคำวิจารณ์ ที่ดี และหนึ่งในศิลปินผู้สร้างสรรค์ ในวงการเพลงไทย หรือ อัสนี กับในงานในนาม อัสนี-วสันต์ กับน้องชายของเขา ที่ได้รับการตอบรับทั้งเงิน ทั้งกล่อง อีกทั้ง บทเพลงสำเนียง rockabilly แบบ ไทยๆ ที่โดนและเข้าถึง ผู้ฟัง ที่เรียกว่า ‘จิ๋กโก๋อกหัก’ รวมไปถึง เหล่า back up ระดับสุดยอดของเมืองไทย ที่มาเล่นให้ สองพี่น้อง โชติกุล (วีระ โชควิเชียร, เอกมันต์ โพธิ์พันธุ์ทอง, พิเชษฏ์ เคลือวัลย์ etc.)กฤษณ์ เป็น producer ของ แกรมมี่ และทำงานในห้องอัด พวก mixed เสียงอันเป็นแนวทางตั้งแต่วัยหนุ่ม รวมไปถึง การตั้ง วงดนตรี supergroup กับ producer คนเขียนเพลง ของ แกรมมี่ อย่าง สมชัย ขำเลิศกุล และ อรรณพ จันสุตะ ในนาม ‘กัมปะนี’ ที่ยังมีเพลงดังอมตะ อย่าง ‘สรุปว่า บ้า’, กลับคำเสีย หรือเพลง progressive มหากาพย์ อย่าง ‘แม่เดียวกัน’, ‘นักเดินทาง’ รวมไปถึงเพลง create น่ารักๆ อย่าง ‘ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย’ อนุวัฒน์ ก็กลายเป็น producer ในแกรมมี่ อีกคนเช่นกัน (แต่ไปทำ ทิวา ฮูลา ฮูล่า เสียแล้ว โธ่…) คนเดียวกับที่เขีนทำนองเพลง ให้ เบิร์ด ธงไชย เกือบทุกชุด และ เพลง กวีบทเก่า ของ นูโว นั้นแหละครับ กรเณศ ยังเป็นมือกลอง ในนาม dynamc band ร่วมกับ สุรสีห์ เล่นตามร้าน และ ผับ รวมไปถึง rock events ต่างๆ ด้วย นี่แหละครับความเป็นไปของผีเสื้อเด็กแนว ทางดนตรี กลุ่มนี้ ที่ปัจจุบันพวกเขาก็ยังอยู่ในแวดวงวงดนตรีอยู่ และบางคนก็ได้เป็นผู้บริหารเพลง และยังสร้างโอกาส เด็กรุ่นใหม่ ต่อไป เหมือนตอนที่พวกเขาให้โอกาส เด็กๆในวันนั้นที่ ศศิลิยะ และ ห้องอัด Butterfly นี่แหละครับ คนดนตรี ตัวจริง และเป็นตำนาน ที่ยังมีลมหายใจอยู่ หาก ใครสักคนถามว่า หากมี Rock n’roll of fame ในเมืองไทยขึ้นมา คุณจะเสนอชื่อใคร ผมตอบยังไม่คิดเลยครับว่า ผมจะเสนอ Butterfly เป็น เบอร์แรก เลย
ลิ้งค์อยู่ที่บอร์ด 320 KB จ้า.......

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ชื่นชอบ และชื่นชมเช่นกัน